- Home >
- เทคนิคพื้นฐาน >
- 10 สุดยอดเทคนิคในการถ่ายภาพเพื่อยกระดับการถ่ายของคุณขึ้นไปอีก

10 สุดยอดเทคนิคในการถ่ายภาพเพื่อ
ยกระดับการถ่ายของคุณขึ้นไปอีก
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เริ่มต้นหรือช่ำชองในการถ่ายภาพ ข้างล่างนี้เป็นทริคที่เราอยากนำเสนอที่จะทำให้ทักษะการถ่ายภาพของคุณเหนือชั้นขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน
1. ใช้กฎสามส่วน
กฎนี้จะช่วยให้คุณจับภาพที่เป็นที่สะดุดตาโดยการใช้หลักการในการจัดวางองค์ประกอบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด และถ้าคุณต้องการถ่ายภาพที่จะทำให้ทุกคนต้องร้องว้าวและก็ กฎสามส่วนนี่แหละเป็นเคล็ดลับการจัดวางที่คุณควรตักตวงและเรียนรู้จากมันให้มากที่สุด
ในการใช้กฎสามส่วนนั้น ให้คุณนึกถึงเส้น 4 เส้น โดยมี 2 เส้นในแนวนอน และ 2 เส้นในแนวตั้งตัดกันทำให้เกิดเป็น 9 สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเท่าๆกัน โดยบางรูปนั้นจะดูดีมากถ้ามีจุดที่น่าสนใจอยู่ในศูนย์กลางของภาพ แต่ถ้าจัดให้จุดสนใจออกไปจากศูนย์กลาง แต่ไปอยู่บนจุดใดจุดหนึ่งที่เส้น 4 เส้นนั้นตัดกันก็จะทำให้เกิดสุนทรียภาพอันงดงามให้คนดูได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนี่เป็นข้อดีเมื่อเราใช้กฎสามส่วนในการสร้างความประทับใจให้กับทุกสายตาที่ดูรูปของเรา ซึ่งถ้าคุณสนใจในสิ่งเหล่านี้ คุณอาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอร์สทักษะการจัดวางองค์ประกอบที่สำคัญหรือบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎสามส่วนที่เราได้ทำเพิ่มเติมไว้ให้กับคุณ

2. หลีกเลี่ยงการสั่นของกล้อง
การสั่นของกล้องที่อาจก่อให้เกิดภาพเบลอเป็นอะไรที่ก่อให้เกิดความรำคาญใจต่อสายตาของคนดู และนี่เป็นเทคนิคที่เราอยากบอกต่อในการระวังไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้น
อย่างแรกเลยคือคุณต้องเรียนรู้ในการถือกล้องของคุณอย่างถูกต้องโดยใช้ทั้งสองมือ มือหนึ่งโอบรอบลำตัว และอีกมือหนึ่งล้อมรอบเลนส์ของกล้องไว้ และถือกล้องคุณให้ชิดกับลำตัวเพื่อช่วยเสริมอีกแรงหนึ่ง
และขณะที่จะกดถ่ายภาพตอนที่มือคุณถือกล้องอยู่นั้น อย่าลืมตรวจดูว่าความไวของชัตเตอร์ในการรับแสงนั้นเหมาะสมกับทางยาวโฟกัสของเลนส์ด้วย เพราะถ้าชัตเตอร์คุณช้าในการรับแสง การสั่นไหวของกล้องที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจจะทำให้รูปที่ถ่ายออกมานั้นเบลอและไม่ชัด
ตามกฎนั้นคือคุณจะไม่กดถ่ายเมื่อความไวของชัตเตอร์นั้นน้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ (โดย 1 / ทางยาวโฟกัส จะเท่ากับความไวของชัตเตอร์) เช่นถ้าเลนส์ของคุณมีทางยาวโฟกัส 100 มิลลิเมตร ชัตเตอร์ของคุณก็ควรมีึความไวไม่น้อยกว่า 1/100 ต่อวินาที และคุณอาจใช้ขาตั้งเพื่อเพิ่มความสะดวกในการถ่ายได้เช่นกัน
หากคุณยังสับสนกับคำศัพท์ทางเทคนิคต่างๆ แต่อยากที่จะควบคุมการทำงานของกล้องให้ดีและกำจัดความสับสนเกี่ยวกับ ความไวของชัตเตอร์ ทางยาวโฟกัสของเลนส์ หรือ การตั้งค่าอื่นๆ ก็ให้คุณลองพิจารณาคอร์สทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการถ่ายภาพของเราดู นี่จะเป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการเรียนรู้การถ่ายภาพและพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับกล้องของคุณ

3. เรียนรู้ Exposure triangle
นี่คือความสัมพันธ์ 3 ปัจจัยในการรับแสงซึ่งประกอบด้วย ความเร็วของชัตเตอร์ รูรับแสง และ ความไวแสง ที่คุณต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เพราะเมื่อคุณปรับตัวใดตัวหนึ่ง คุณอาจต้องคำนึงถึงส่วนที่เหลือเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การใช้โหมดอัตโนมัติอาจช่วยให้คุณควบคุมได้ดีขึ้น แต่คุณอาจต้องเสี่ยงกับการที่คุณจะไม่ได้รูปที่คุณคาดหวังเอาไว้ ดังนั้นจึงเป็นความคิดที่ดีในการเรียนรู้โหมดที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็นหลัก ไม่ว่าจะ รูรับแสง หรือ ชัตเตอร์ และถ่ายรูปด้วยมือของคุณเอง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็ถูกรวมอยู่ในคอร์สทักษะการถ่ายภาพที่เราได้แนะนำไปก่อนหน้า

4. ใช้ฟิวเตอร์แบบ Polarizing
ถ้าคุณสามารถเลือกฟิวเตอร์สำหรับเลนส์ของคุณได้ ให้เลือกแบบ Polarizing โดยแบบที่เราแนะนำคือแบบวงกลมเพราะจะช่วยให้กล้องคุณสามารถใช้ระบบ TTL (through the lens) ที่มีการปรับการรับค่าแสงโดยอัตโนมัติ
โดยฟิวเตอร์นี้นอกจากจะไปช่วยลดการสะท้อนจากน้ำรวมไปถึงโลหะและแก้ว ยังจะช่วยปรับปรุงคุณภาพสีของท้องฟ้าและใบไม้ ขณะเดียวกันก็ช่วยปกป้องเลนส์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยม ทำให้คนดูต้องร้องว้าวกับผลงานของคุณ จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการถ่ายภาพ โดยทางเราแนะนำฟิวเตอร์แบบ Polarizer ในรุ่น Hoya สำหรับความลงตัวที่สุดทั้งในแง่ของคุณภาพและราคา

5. สร้างสัมผัสที่เป็นความรู้สึกเชิงลึก
เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์มันจะเป็นการดีมากถ้าคุณสามารถสร้างสัมผัสเชิงความลึกให้คนดูรู้สึกว่าเขาอยู่ที่นั่นด้วย
โดยคุณสามารถใช้เลนส์มุมกว้างสำหรับการเก็บรายละเอียดทั้งหมดและใช้รูรับแสงขนาด
f/16 หรือเล็กกว่าเพื่อทำให้ส่วนที่อยู่พื้นหน้าและพื้นหลังนั้นคมชัด การวางวัตถุหรือคนในพื้นหน้าที่อยู่ใกล้สุดเป็นการเน้นถึงระยะทางที่ห่างไกลออกไปจากคนดู ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกเชิงลึกได้ดีทีเดียว
และถ้าเป็นไปได้ให้คุณลองใช้ขาตั้งสามขาเพื่อทำหน้าที่เป็นรูรับแสงในการลดความเร็วของชัตเตอร์ลง

6. ใช้พื้นหลังที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
วิธีการที่เรียบง่ายมักจะเป็นอะไรที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพแบบดิจิตอล โดยคุณเป็นคนเลือกว่าจะให้อะไรรวมอยู่ในกรอบการถ่ายรูปและไม่ใส่สิ่งรบกวนหรือเบี่ยงเบนความสนใจเข้าไป
ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้พื้นหลังที่เป็นแบบ Plain คือไม่มีลวดลาย (ใช้สีโทนกลางเพื่อรูปแบบที่ง่ายดายและไม่ซับซ้อน) คุณต้องการให้สายตาของคุณจดจ้องไปที่จุดสนใจของรูปแทนที่จะเป็นสีสันประกอบ หรือ ตึกแปลกๆในพื้นหลัง นี่เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการถ่ายภาพเวลาที่โมเดลของคุณไม่ได้อยู่ในจุดศูนย์กลาง

7. หลีกเลี่ยงการใช้แฟลชในที่ร่ม
แฟลชนั้นอาจดูแรงและไม่เป็นธรรมชาติโดยเฉพาะเมื่อใช้กับรูปภาพคนที่อยู่ในที่ร่ม ดังนั้นมีหลายวิธีที่คุณสามารถถ่ายภาพในที่ร่มได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแฟลช
ประการแรก เปิดระบบ ISO โดยถ้าให้ดีควรเลือก ISO 800 ถึง 1600 เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับความไวของชัตเตอร์ที่คุณสามารถเลือกได้ และใช้รูรับแสงที่กว้างที่สุดเพื่อให้แสงเข้ามาหา sensor ได้มากขึ้นสำหรับพื้นหลังที่ดูสวยงามขึ้น การใช้ขาตั้งสามขาหรือเลนส์แบบ IS ซึ่งเป็นตัวสร้างความคงที่หรือเสถียรภาพให้กับรูปภาพก็เป็นวิธีที่ดีในการป้องกันการเกิดภาพเบลอได้เหมือนกัน
ถ้าคุณจำเป็นต้องใช้แฟลช คุณควรใช้แฟลชที่มีหัวที่คุณสามารถปรับหมุนได้และทำมุมพุ่งเป้าลำแสงไปที่เพดาน และเพื่อมั่นใจว่าคุณจะได้แสงที่น่าประทับใจที่สุดสำหรับรูปซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปคน รูปทิวทัศน์ หรืออื่นๆที่คุณไม่อยากพลาด ให้คุณติดตามรับชมวีดีโอนี้ได้เลยครับ


8. เลือก ISO ที่ใช่สำหรับคุณ
การตั้งค่า ISO เป็นการกำหนดความไวของกล้องที่มีต่อแสงและมีผลต่อความละเอียดของ
ภาพที่ถ่ายออกมา ซึ่ง ISO ที่เราจะเลือกนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าอยู่ในที่มืดคุณจำเป็นต้องปรับค่า ISO ให้สูงขึ้นระหว่าง 400-3200 ซึ่งจะทำให้กล้องนั้นไวต่อแสงมากขึ้นในการจับภาพและช่วยแก้ปัญหาภาพเบลอได้ แต่ถ้าอยู่ในวันที่มีแสงแดดส่องสว่างคุณอาจใช้ค่า ISO ที่ 100 หรือตั้งแบบอัตโนมัติเพราะเรามีแสงที่เพียงพอแล้วนั่นเอง

9. ถ่ายภาพแอคชั่นให้ดูซิ่งด้วยเทคนิค Panning
ถ้าคุณต้องการจับภาพที่กำลังเคลื่อนไหว ให้คุณใช้เทคนิคที่เรียกว่า Panning ซึ่งสามารถทำได้โดยเลือกความไวของชัตเตอร์ที่ลดลงจากที่จำเป็น เช่นถ้าสำหรับ 1/250 เราก็จะเลือก 1/60 ให้คุณตั้งกล้องของคุณให้โฟกัสไปที่ subject โดยใช้มือควบคุมชัตเตอร์เพื่อ lock จุดโฟกัสเอาไว้ และเมื่อจับภาพอย่าลืมตามจุดสนใจไปเมื่อเขาเริ่มเคลื่อนไหว ถ้าเป็นไปได้ให้คุณลองพิจารณาใช้ขาตั้งสามขาหรือขาเดียวเพื่อป้องกันการสั่นของกล้องและการเคลื่อนไหวที่ดูชัดเจนขึ้น

10. ทดลองกับความไวของชัตเตอร์
อย่ากลัวที่จะเพิ่มลูกเล่นด้วยความไวของชัตเตอร์เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่น่าสนใจและดึงดูดให้กับรูปของคุณ
เมื่อคุณถ่ายภาพตอนกลางคืน ใช้ขาตั้งสามขาและถ่ายภาพโดยตั้งความไวของชัตเตอร์ไว้ที่ 4 วินาที โดยคุณจะพบว่าการเคลื่อนไหวของวัตถุนั้นถูกจับไปพร้อมๆกับการจับทางแสง เพราะถ้าคุณเลือกความไวของชัตเตอร์ที่มากขึ้น เช่น 1/250 ต่อวินาที ทางของแสงนั้นก็จะไม่ยาวพอหรือมีความกระจ่างใส ทำให้เหตุการณ์ในภาพเหมือนถูกแช่แข็งไว้
ให้คุณลองจับภาพที่มีการเคลื่อนไหวของวัตถุหรือพื้นหลัง เช่น คลื่นบนทะเล กลุ่มคนที่กำลังเดิน กลุ่มรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนตัว ด้วยความไวของชัตเตอร์ที่แตกต่างกัน เพื่อดูความแตกต่างของผลลัพธ์ที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาพการเคลื่อนไหวที่ดูเบลอๆ หรือ การจับภาพอย่างรวดเร็วที่ทำให้ทุกอย่างเหมือนหยุดชะงักในพริบตาเดียว
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณใช้ความไวของชัตเตอร์ที่น้อยเพื่อทำให้ภาพดูเบลอ มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่กล้องของคุณจะต้องอยู่ในการตั้งที่มีเสถียรภาพเพื่อป้องกันการสั่นของกล้อง โดยทางเราแนะนำขาตั้งสามขาที่พกพาได้ที่ชื่อ AmazonBasics ขนาด 60 นิ้ว ซึ่งถูกออกแบบมาให้จับภาพด้วยความไวของชัตเตอร์ที่ต่ำโดยตรง


11. ทริปที่ผู้เขียนอยากฝากไปถึงผู้อ่านทุกท่านเป็นการทิ้งท้ายก่อนจากกัน
ให้ผู้อ่านทุกท่านลงทุนในความรู้มากกว่าในอุปกรณ์ต่่างๆที่จะมาเสริมกล้องและเลนส์ของคุณ เพราะมีคนจำนวนมากที่เกิดความผิดหวังหลังจากที่อุปกรณ์เพิ่มลูกเล่นอันน่าทึ่งของเขาไม่ค่อยได้ช่วยทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกว้าวกับภาพที่ถ่ายออกมาเท่าที่คาดหวังไว้
นั่นหมายความว่าคุณสามารถสร้างผลงานภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจที่คุณภาคภูมิใจ โดยใช้เพียงแค่กล้องดิจิตอลที่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน และเลนส์ซูมแบบธรรมดาๆ เพียงแต่คุณต้องมี
พื้นฐานความรู้เบื้องต้นที่แข็งแกร่งในการ
ถ่ายภาพเสียก่อน
นี่คือเหตุผลที่สำคัญที่คุณจำเป็นต้องเข้าใจความรู้ในการจัดองค์ประกอบและแสงในการถ่ายภาพก่อนที่จะไปลงทุนกับอุปกรณ์ต่างๆ และเราขอแนะนำ 2 คอร์สด้านล่างที่จะช่วยยกระดับการถ่ายภาพของคุณให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ทักษะที่ขาดไม่ได้ในการจัดวางองค์ประกอบ
ทักษะเบื้องต้นเกี่ยวกับแสงในการถ่ายภาพ

Credit: https://www.lightstalking.com/basic-photography-tips-for-beginners