10 เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบของการถ่ายรูปบนไอโฟนเพื่อภาพถ่ายอันน่าตื่นตาตื่นใจ
https://iphonephotographyschool.com/iphone-photo-composition/
การพัฒนาเทคนิคการจัดวางองค์ประกอบเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้คุณเป็นนักถ่ายภาพที่ดีขึ้น เชื่อหรือไม่ว่าการจัดวางองค์ประกอบนั้นสำคัญมากกว่า subject ที่คุณถ่ายด้วยซ้ำไป เพราะเมื่อคุณจัดวางสิ่งต่างๆได้ดีนั้น คุณสามารถเปลี่ยน subject ที่ดูธรรมดาๆ ให้กลับสวยงามและมีความน่าสนใจขึ้นมาได้ในทันที โดยในบทเรียนนี้เราจะมาพูดถึง 10 เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบเพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพบนไอโฟนได้อย่างมั่นใจและดียิ่งขึ้นไปอีก
1. ใส่ subject หลักเข้าไป
หนึ่งในกฎที่สำคัญของการจัดวางองค์ประกอบคือคุณต้องมี subject หลักในรูป (เว้นแต่ว่าคุณจะถ่ายภาพแบบ abstract) เพื่อให้คนดูรู้และเข้าใจว่าคุณต้องการสื่อถึงอะไรจากในรูปถ่าย พูดอีกนัยหนึ่งคือ มันจะเป็นตัวที่นำความกระจ่างแจ้งมาให้รูปของคุณและสร้างจุดสนใจที่นำสายตาของคนดูมาตกที่รูปถ่ายของคุณ
คุณจะเห็นได้จาก 2 รูปด้านล่างที่เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ รูปที่มีเรือ canoe เป็น subject หลักสร้างพลังและความน่าสนใจขึ้นมาทันทีเพื่อเทียบกับอีกรูปที่ไม่มี main subject เลย
อีกตัวอย่างที่ดีคือ ตอนที่คุณไปสถานที่สวยงามเช่นตามภูเขาหรือทะเล และคุณต้องการเก็บภาพของสถานที่นั้นๆไว้ ถ้าคุณแค่ถ่ายสถานที่ มันคงจะทำให้คุณรู้สึกผิดหวังในยามที่คุณหยิบมันขึ้นมาดูทีหลังเพราะความรู้สึกที่คุณได้รับจะไม่เหมือนกับตอนที่คุณอยู่ที่นั่น
แต่ว่าถ้าคุณใส่ subject หลักเข้าไป เช่น คนยืนดูภูเขาหรือทะเล รูปที่ถ่ายออกมาจะไม่เพียงสวยงามกว่าเดิม แต่ยังสามารถสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกที่คุณมีเมื่ออยู่ในสถานที่นั้นๆ ในยามที่คุณกลับมาดูในภายหลัง
2. ตั้งกรอบการถ่ายภาพเพื่อเพิ่มความสำคัญให้กับ subject ของคุณ
หลังจากที่คุณเลือก subject หลักที่จะมาอยู่ในรูปถ่ายแล้ว คุณสามารถใช้ทริคต่างๆเพื่อทำให้ subject นั้นดูมีความหมายและความสำคัญมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือ ทำการ frame หรือตั้งกรอบให้กับ subject ของคุณ
การ framing ก็คือการใช้บางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงเพื่อทำให้ subject ดูเป็นรูปเป็นร่างและดึงดูดคนดูมาที่ภาพมากขึ้น
โดยส่วนมากสิ่งที่เราใช้ในการ framing คือ บางสิ่งในพื้นหน้าที่ไปช่วยทำให้กรอบของรูปนั้นดูอ่อนนุ่มและเรียบง่ายเช่น กิ่งไม้ ใบไม้ หรืออาจจะเป็นพื้นที่ไม่ว่าจะสว่างหรือมืดที่รายล้อม subject ของคุณไว้ เช่นรูปของผู้คนยืนอยู่ในโรงจอดรถ
นอกเหนือจากที่กล่าวมา หน้าต่างหรือทางประตูยังเป็นอะไรที่ดีในการนำมาให้ frame เป็นกรอบให้กับ subject ไม่ว่าจะวางไว้ข้างหน้าหรือหลัง subject
และเมื่อคุณเริ่มหาอะไรเพื่อมา frame subject ของคุณ คุณจะพบว่าคุณสามารถใช้หลายสิ่งหลายอย่างมาเพื่อทำให้เป็นกรอบของรูปของคุณ ขอเพียงแค่คุณมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. ใช้ leading lines หรือเส้นนำ เพื่อนำสายตาของคนดูมาสู่รูปของคุณ
อีกทริคหนึ่งที่คุณสามารถนำมาใช้ในการจัดวางองค์ประกอบคือการมองหา leading lines หรือเส้นนำ ซึ่งเป็นตัวที่จะนำความสนใจของคนดูมาสู่ subject หรือสิ่งที่คุณอยากให้เขา focus บนรูปถ่ายของคุณ
ให้คุณมองหาอะไรที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆในฉากการถ่ายภาพ เช่น ถนน ทางเดิน รั้ว ทางรถไฟ ทางเดินยาวในอาคาร หรือองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอะไรก็ตามที่สามารถสร้างเส้นนำได้
จากนั้นให้คุณทำการถ่ายภาพโดยให้เส้นนำลากสายตาจากพื้นหน้าไปตามระยะทางในรูปถ่าย โดยให้ subject อยู่ที่ปลายทางหรือระหว่างทาง เพื่อให้เส้นนำลากสายตาคนดูไปสู่ subject ได้ โดยตรง
เชื่อหรือไม่ว่า leading lines ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้น เช่นในภาพของสะพานที่มีลักษณะเป็นเส้นนำในตัว แต่เงาของคนที่เดินบนสะพานก็สามารถทำหน้าที่เป็นเส้นนำในการจัดวางองค์ประกอบได้เช่นกัน
นั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลอันยอดเยี่ยมว่าทำไมคุณถึงควรถ่ายภาพในช่วง Golden hour (ช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือตก) เพราะว่าคุณไม่เพียงจะได้แสงที่สวยงาม แต่คุณจะได้ประโยชน์จาก leading lines ในการสร้างเงาที่ทอดยาวเป็นทางให้กับคุณ
4. ใช้กฎสามส่วน
คุณอาจเคยได้ยินถึงกฎสามส่วนมาก่อนเพราะนี่เป็นหนึ่งในสิ่งแรกๆที่คุณได้เรียนรู้เมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพ และในความเป็นจริงคุณจะพบว่ามันมีประโยชน์ถึงขนาดที่ไอโฟนของคุณมีฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อกฎสามส่วนโดยเฉพาะ
ถ้าคุณไปที่ Setting และเลือก Photos & Camera จากนั้นเลื่อนลงและเปิดการใช้การ grid คุณก็จะได้เส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอนอย่างละ 2 เส้นเพื่อแบ่งรูปคุณเป็น 9 ส่วนเท่าๆกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎสามส่วน
กฎสามส่วนระบุไว้ว่า เมื่อคุณแบ่งหน้าจอการถ่ายภาพให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ให้คุณวาง subject ไว้ที่ 1 ใน 4 จุดที่เส้นทั้ง 4 นั้นตัดกัน ตัวอย่างเช่นในรูปภาพที่มีบ้านเล็กๆ คุณจะเห็นว่าบ้านนั้นตั้งอยู่บนจุดด้านขวามุมบนที่เส้นตัดกัน
กฎสามส่วนยังบอกอีกว่า ให้คุณวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่เส้นตรงแนวนอนด้านบนหรือด้านล่างเพื่อการจัดวางองค์ประกอบที่มีสมดุลและสวยงามที่สุด
กฎสามส่วนเป็นกฎที่น่าเชื่อถือและทำให้รูปเกิดสมดุลที่ลงตัว อย่างไรก็ตามกฎนี้ก็มีความยืดหยุ่น เช่นในรูปทิวทัศน์ที่มีคนยืนดูแหล่งน้ำ
คุณจะเห็นว่าคนที่เป็น subject หลักยืนอยู่ตรงจุดที่เส้นตัดกันก็จริง แต่เส้นขอบฟ้าไม่ได้อยู่บนเส้นตรงในแนวนอนทั้งด้านบนและด้านล่าง แม้กระนั้น กลุ่มก้อนที่เป็นมวลทึบๆทางด้านล่างก็วางตัวในแนวขนานไปกับเส้น grid ด้านล่าง ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำกฎสามส่วนไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดองค์ประกอบรูป
ให้คุณมองสิ่งต่างๆในโลกผ่านไอโฟนโดยเปิดระบบการใช้งาน grid ให้เส้นตรงทั้ง 4 เชื่อมโยงเข้ากับ subject หลักของคุณโดยใช้กฎสามส่วนและคุณจะประหลาดใจว่าการสร้างภาพถ่ายที่ดีนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิดไว้เลย
5. ลืมกฎสามส่วนไปซะ
ในข้อที่ 4 คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎสามส่วนไปแล้ว ตอนนี้เราอยากลองให้คุณลองแหกกฎนี้ดู
โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องถ่ายภาพที่มีสมมาตร คุณจะเห็นว่าถ้าคุณวาง subject หลักไว้ที่ตรงกลาง รูปที่คุณได้จะออกมาดูดีกว่าเดิม
รูปถ่ายที่มีสมมาตรนั้นเป็นอะไรที่พิเศษ เพราะคุณต้องรักษาสมดุลของทั้งสองด้านให้ดี ซึ่งทำได้โดยวาง subject ให้อยู่ที่จุดศูนย์กลางของรูปภาพเพื่อไม่ให้ด้านใดด้านหนึ่งดูโดดเด่นกว่าอีกด้าน
เช่นเดียวกัน รูปถ่ายที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก็เป็นอะไรที่ยึดตามหลักสมมาตร ที่ทำให้คุณต้องฉีกตัวเองออกจากกฎสามส่วนไป เพราะว่า ด้านทั้ง 4 ด้านของรูปมีความยาวเท่ากันซึ่งจะเข้ากับการแบ่งแบบสมมาตรได้อย่างลงตัวที่สุด
ดังนั้นแม้ว่าการทำตามกฎการจัดวางองค์ประกอบจะเป็นอะไรที่ดีงาม บางครั้งมันก็เป็นเรื่องที่โอเคถ้าคุณจะฉีกตัวเองออกมาเมื่อคุณมีเหตุผลที่น่าดึงดูดใจที่จะทำเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
6. ใช้สมมาตรและรูปแบบให้เกิดประโยชน์
การถ่ายภาพที่มีสมมาตรและรูปแบบเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการนำความสนใจทางสายตาเข้ามาสู่การถ่ายภาพของคุณ เพราะว่าสมองของคนเรานั้นจะถูกดึงดูดให้เข้าหาอะไรที่เป็นสมมาตรกัน เราจะเห็นได้จากร่างกายของเราที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมีสมมาตรแบ่งเป็นด้านซ้ายและด้านขวาอย่างเท่าเทียมกัน
สมมาตรนั้นสามารถสร้างความน่าประทับใจให้กับรูปถ่ายที่สามารถจับสายตาคนดูได้ในทันที เช่น ส่วนหน้าของตึกที่แสดงสถาปัตยกรรม นับว่าเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมในการมองหาสมมาตร เพราะมันถูกออกแบบมาให้มีรูปแบบความเป็นสมมาตรในตัวเอง
รูปแบบนั้นเป็นอะไรที่สัมพันธ์กับความเป็นสมมาตร แต่เราไม่ควรเกิดความสับสนระหว่าง 2 สิ่งนี้ เช่นในรูปตัวอย่าง คุณจะเห็นว่าการจัดวางองค์ประกอบนั้นเป็นแบบสมมาตรเพราะด้านซ้ายและด้านขวาดูออกแบบมาให้เหมือนกัน แต่คุณก็จะเห็นได้เช่นกันว่ามีรูปแบบการจัดวางหนังสือ 3 เล่ม ในทุกๆแถวทั่วทั้งรูปถ่าย
เมื่อคุณใช้สมมาตรร่วมกับรูปแบบ คุณก็จะสามารถสร้างภาพถ่ายที่มีมนต์สะกดทางสายตาให้กับคนดูได้ ซึ่งในธรรมชาติคุณสามารถหาความเป็นสมมาตรได้โดยมองหาแหล่งน้ำและให้มือถือของคุณอยู่ในระดับต่ำเพื่อให้น้ำนั้นสะท้อนรายละเอียดส่วนบนของภาพ
สำหรับการถ่ายภาพในเมือง คุณจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ง่ายในการหาตึกหรืออาคารที่สมมาตรในการจับภาพ หรือว่าคุณอาจสร้างการถ่ายภาพที่มีสมมาตรเองโดยการกดไปที่ขอบของไอโฟนผ่านเศษแก้วเพื่อให้คุณสามารถจับรายละเอียดของ subject หลักที่ถูกสะท้อนในพื้นผิวที่เป็นมันเงาทำให้เราสร้างการถ่ายภาพที่มีสมมาตรได้ในทันที และคุณจะประหลาดใจว่าสมมาตรกับรูปแบบทำให้คุณได้มองเห็นการถ่ายภาพในมิติที่แตกต่างกันออกไป
7. ถ่ายจากมุมที่แตกต่างออกไป
เรามักจะเคยชินกับการมองโลกรอบๆตัวจากระดับสายตา ดังนั้นจะเป็นการสร้างความประหลาดใจให้กับคนดูถ้าคุณได้ลองถ่ายภาพในองศาที่แตกต่างกันออกไป
เพียงแค่เคลื่อนย้ายมือถือของคุณไปยังจุดที่พิเศษหรือมีอะไรโดดเด่นจะทำให้รูปถ่ายของคุณนั้นดูสดใหม่อย่างที่คนดูไม่คาดคิดมาก่อน
และเทคนิคนั้นก็คือการมองขึ้นไปข้างบนเหนือตัวคุณ เพราะว่ามีอะไรที่น่าสนใจเกิดขึ้นอยู่เหนือคุณทุกๆวัน หรือในทางกลับกันคุณอาจลองถ่ายภาพจากด้านบนเพื่อมองลงมาที่ subject ของคุณ ซึ่งทำได้โดยขึ้นไปถ่ายในตึกสูงๆหรือบนสะพาน
ท้ายที่สุด คุณอาจลองมองหามุมที่คนไม่คาดคิดมาก่อนโดยการวางมือถือของคุณในวิธีที่ไม่ปกติ
เช่น เมื่ออยู่บนเครื่องบินคุณจะเห็นภาพของโลกในรูปแบบที่เปลี่ยนไปเมื่อมันถูกสะท้อนโดยพื้นผิวอันวาววับของเครื่องบิน และคุณอาจเอียงมือถือเพื่อเปลี่ยนมุมมองในการถ่ายภาพที่ทำให้ผู้คนต้องประหลาดใจ
ดังนั้นทุกครั้งที่คุณถ่ายภาพด้วยไอโฟน อย่าเพียงแค่จับภาพจากระดับสายตาหรือระดับความสูงของคุณ แต่ให้มองหาสถานที่ที่คุณสามารถมองโลกจากมุมที่คุณไม่อาจเห็นได้ในยามปกติ
8. ใส่ส่วนประกอบที่เป็นพื้นหน้าและพื้นหลังเพื่อเพิ่มความรู้สึกในเชิงลึก
รูปถ่ายนั้นเป็นการนำเสนอภาพสามมิติในรูปแบบที่เป็นสองมิติ ซึ่งหมายความว่า มันเป็นเรื่องที่ยากในการสื่อถึงความรู้สึกเชิงความลึกที่คุณเห็นด้วยตาของคุณเอง และการที่คุณจะทำให้คนดูมีประสบการณ์ร่วมไปกับรูปถ่ายของคุณ คุณก็ต้องประกอบชอตการถ่ายภาพด้วยความรอบคอบเพื่อเพิ่มความรู้สึกเชิงลึกและดูเป็นสามมิติมากยิ่งขึ้น
การสร้างภาพถ่ายที่มีความลึกนั้นง่าย เพียงแค่คุณต้องมีอะไรบางอย่างในพื้นหน้าและพื้นหลังเท่านั้นเอง
ในรูปภาพตัวอย่างคุณจะสัมผัสถึงความรู้สึกเชิงความลึกได้ เพราะมีน้ำเป็นพื้นหน้า และ ผืนหญ้ารวมถึงต้นไม้เป็นพื้นหลัง แต่เมื่อเราใส่อีกสิ่งหนึ่งเพิ่มเข้าไปในพื้นหน้า มันไม่เพียงแต่ทำให้รูปนั้นดูมีความลึกมากขึ้น แต่ยังเป็นการเพิ่ม subject หลักทำให้รูปที่ได้มีพลังมากขึ้นด้วย
รูปถ่ายที่มีความลึกเป็นอะไรที่น่าดึงดูดสำหรับเราเพราะมันช่วยให้เราเข้าใจที่ที่เป็นสามมิติที่รูปได้แสดงออกมา ซึ่งคุณอาจเพิ่มความลึกโดยใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบและเส้น ให้อยู่ในแนวเดียวกันไปตามระยะทาง
ในครั้งต่อไปเมื่อคุณเริ่มถ่ายภาพ ให้ลองประกอบการถ่ายภาพของคุณในลักษณะที่มีบางสิ่งบางอย่างทั้งในพื้นหน้าและพื้นหลัง และคุณจะพบว่ารูปที่ได้นั้นดูเป็นสามมิติมากเลยทีเดียว
9. ให้มีพื้นที่ว่างสำหรับ subject ที่กำลังเคลื่อนที่
ในบางครั้งที่ subject ของคุณกำลังเคลื่อนที่ขณะที่จับภาพ คุณจำเป็นต้องตระหนักถึงอีกกฎหนึ่งของการจัดวางองค์ประกอบนั่นคือการให้มีพื้นที่ว่างสำหรับ subject ที่เคลื่อนที่อยู่ โดยคุณควรเหลือพื้นที่ว่างให้อยู่ด้านหน้า subject มากกว่าด้านหลัง ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีพื้นที่เหลือในการเติมเต็ม
นับว่าเป็นเรื่องสำคัญในการให้มีพื้นที่ว่างเพื่อทำให้คนไม่รู้สึกว่าในกรอบการถ่ายภาพนั้นดูแออัดเกินไป เพราะแน่นอนว่าคุณไม่อยากให้มันเหมือนเป็นการวิ่งเข้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งเป็นภาพถ่ายอีกรูปแบบหนึ่งที่เราไม่ได้กล่าวถึง
คุณจะพบว่าถ้าคุณตั้งกรอบการถ่ายภาพ subject ในแบบนี้ รูปถ่ายที่ได้จะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและสมจริงมากยิ่งขึ้น นั่นเป็นเพราะเราคุ้นเคยกับการดูรูปภาพในแบบนี้ และถ้าคุณฝึกฝนการถ่ายภาพที่มี subject เคลื่อนไหวโดยใช้กฎนี้ มันก็จะทำให้ทุกอย่างออกมาดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
10. แยก subject ของคุณออกมา
หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงรูปถ่ายบนไอโฟนของคุณคือการมั่นใจว่า subject ของคุณถูกดึงออกมาจากพื้นหลัง และ ไม่มีสิ่งกีดขวางอะไรที่จะมาคาบเกี่ยวกับ subject หลักของคุณ เพราะการที่มีอะไรอย่างอื่นเข้ามารบกวนจะทำให้ภาพของคุณดูอ่อนแอลงและทำให้เกิดความสับสนต่อคนดูได้
วิธีที่ดีในการดึงเอา subject ของคุณออกมาคือการดูว่าพื้นหลังนั้นสว่างพอหรือไม่ (สมมุติว่า subject ของคุณนั้นมืด) เช่นในรูปตัวอย่างที่เราถ่ายภาพคนในชุดดำกำลังเดินผ่านทางเชื่อมที่มีแสงสว่างจ้า
แน่นอนว่าคุณสามารถทำในแบบตรงข้ามได้เช่นกัน นั่นคือการใช้พื้นหลังที่มืด กับ subject ที่มีความสว่างไสว เพื่อดึงเอาความน่าสนใจของ subject ออกมา
นอกจากใช้ความมืดและความสว่างแล้ว คุณอาจใช้สีในการทำให้ subject หลักของคุณดูโดดเด่นออกมา เพราะตาของเรามักจะให้ความ สนใจไปที่ส่วนที่มีสีสันมากที่สุดของภาพ ดังนั้นถ้าคุณทำให้พื้นหลังของคุณมีสีสันน้อยที่สุด สีที่สว่างบน subject หลักจะช่วยดึงความสนใจจากคนดูมา เช่น หมวกสีแดงที่ผู้ชายในรูปตัวอย่างสวมใส่นั่นเอง
ในทางกลับกันคุณสามารถทำให้พื้นหลังดูมีสีสัน และ ลดสีสันใน subject ของคุณให้ดูอึมครึมแทน นี่เป็นกลยุทธ์ที่ดีถ้าพื้นหลังของคุณเป็นกำแพงที่มีสีสัน หรือ คุณกำลังถ่ายรูปในยามพลบค่ำ
ในรูปตัวอย่าง คุณจะเห็นว่า subject หลักนั้นดูเด่นออกมาเพราะตัวเขามืดส่วนพื้นหลังนั้นสว่าง และเพราะเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสีสัน แต่ตัวเขาเองนั้นไม่มีสีสันอะไร
ในบางครั้งคุณอาจพบว่าในรูปถ่าย มีกิ่งไม้ หรือ ต้นไม้ที่ดูเป็นการรบกวนความสวยงามของภาพ และไม่มีวิธีในการเอาสิ่งพวกนี้ออกไปจากกรอบการถ่ายภาพ ดังเช่นในรูปตัวอย่างที่กิ่งไม้มืดๆข้างหลัง subject ไปรบกวนและแทรกแซงกับโครงร่างภาพของคน
ในกรณีนี้ หลังจากที่จับภาพแล้วให้คุณใช้แอพพลิเคชั่น TouchRetouch เพื่อเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปจากรูปภาพ เช่นในรูปตัวอย่างอีกรูปที่คุณจะเห็นว่ากิ่งก้านสาขาของต้นไม้นั้นถูกเอาออกไป ทำให้คนที่เป็น subject นั้นดูมีโครงร่างที่ชัดเจนและสบายตามากขึ้นในการจัดวางองค์ประกอบ