- Home >
- เทคนิคพื้นฐาน >
- พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวีดีโอสำหรับมือใหม่ รวมทุกสิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น
12 เทคนิคการถ่ายภาพที่นักถ่ายภาพ ทุกคนควรรู้
(ตอนที่ 2)
7. ทำการซูมใกล้โดยใช้เลนส์ Telephoto ของไอโฟนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ในบางครั้งเมื่อคุณต้องการเข้าใกล้ subject ของคุณเพื่อเก็บรายละเอียดให้มากขึ้น คุณสามารถทำได้โดยใช้ฟังค์ชั่นการซูมของกล้องบนไอโฟนโดยที่คุณไม่ต้องขยับตัวเองเข้าไปใกล้ในการจับภาพหรือชอตพิเศษที่ไม่สามารถทำได้โดยทั่วไป แต่คุณควรทำในกรณีที่ไอโฟนของคุณมี 2 เลนส์เท่านั้น
ถ้าไอโฟนของคุณเป็นรุ่น XS / XS Max / 8 plus / 7 plus และก็ กล้องของคุณจะมี 2 เลนส์นั่นก็คือ เลนส์แบบ wide angle (มุมกว้าง) และ เลนส์แบบ 2x telephoto ซึ่งเลนส์อันหลังหรือ telephoto นี้เองจะเป็นตัวทำให้คุณสามารถจับภาพแบบซูมใกล้ที่มีคุณภาพสูงได้
ในทางปฏิบัตินั้นคุณสามารถทำได้โดย กดไปที่ปุ่ม 1x ที่ด้านล่างของหน้าจอการถ่ายภาพ ไอคอนจะเปลี่ยนไปเป็น 2x ซึ่งหมายความว่าคุณกำลังใช้งานเลนส์ 2x telephoto อยู่ และภาพของคุณก็จะถูกขยายอย่างมีคุณภาพเพื่อการเก็บรายละเอียดที่มากขึ้น และคุณสามารถเปลี่ยนเลนส์กลับไปเป็นแบบ wide angle ได้ทุกเมื่อโดยการกดปุ่มไอคอน 2x
เมื่อพูดถึงการซูมใกล้บนไอโฟน คุณอาจนึกถึงวิธียอดฮิตที่คนมักใช้โดยการวาง 2 นิ้วไปบนหน้าจอและขยับทั้ง 2 นิ้วออกไปพร้อมๆกัน ซึ่งสามารถทำได้บนไอโฟนทุกรุ่นแม้จะไม่มีเลนส์ telephoto ก็ตาม แต่เราไม่แนะนำให้คุณใช้วิธีนี้เพราะว่าการซูมแบบนั้นใช้ระบบดิจิตอลซึ่งจะไปลดคุณภาพของรูปถ่ายลง
สรุปก็คือถ้าไอโฟนของคุณมีเลนส์แบบ telephoto ก็ให้คุณซูมใกล้โดยการกดปุ่ม 1x เพื่อรูปขยายที่มีคุณภาพสูง แต่ถ้าไม่มีคุณก็ไม่ควรใช้นิ้วในการซูมใกล้ แต่ว่าให้ขยับตัวคุณเข้าไปใกล้ subject แทนจะดีกว่า
8. ตั้งกล้องให้มั่นคงเพื่อให้ได้รูปที่คมชัดและไม่สั่นไหว
ในบางครั้งรูปที่คุณถ่ายดูออกมาเบลอๆ ซึ่งสาเหตุหลักๆก็คือการสั่นไหวของกล้องที่ตั้งไม่มั่นคงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อคุณเคลื่อนย้ายกล้องขณะที่จับภาพ
ในสถานการณ์ที่มีแสงสว่างมากพอ การสั่นไหวของกล้องอาจไม่เป็นปัญหาเพราะว่าในที่ที่มีแสงเยอะ กล้องจะใช้ชัตเตอร์ที่มีความเร็วสูงเพื่อป้องกันไม่ให้แสงเข้ามามากไป และตัวชัตเตอร์ความเร็วสูงจะหยุดทุกการเคลื่อนไหวในฉากรวมไปถึงการสั่นไหวของกล้อง ทำให้รูปถ่ายของคุณยังคงสดใสและคมชัด
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย กล้องก็จะหันมาใช้ชัตเตอร์ที่มีความเร็วต่ำลงเพื่อให้มีแสงเข้ามามากขึ้นในเวลาที่ยืดออกไป และช่วงนี้เอง การสั่นไหวของกล้องจะทำให้เกิดภาพเบลอได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในยามมืดหรือที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องตั้งกล้องให้มั่นคงก่อนถ่ายภาพ
ในกรณีนี้คุณอาจใช้ขาตั้งสามขา หรือ tripod สำหรับไอโฟนเพื่อยึดกล้องไว้ในตำแหน่งที่มั่นคงขณะที่คุณจับภาพ แต่ถ้าคุณไม่มี tripod ก็ให้คุณลองทำตามทริคเหล่านี้ดู
วางไอโฟนของคุณไว้บนพื้นผิวที่แข็งแรงเช่น ผนัง หรือ ก้อนหิน
จับไอโฟนด้วยสองมืออย่างมั่นคง
พิงลำตัวไปกับผนังหรือต้นไม้ขณะถ่ายภาพเพื่อทำให้ร่างกายคุณอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง
ตั้งศอกของคุณในตำแหน่งที่มั่นคงเพื่อให้แขนไม่สั่นไหว
หมอบลงและวางไอโฟนตั้งไว้บนเข่า
ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ไอโฟนของคุณอยู่นิ่งที่สุดเท่าที่ทำได้เมื่อคุณต้องถ่ายรูปในที่ที่มีแสงน้อย
เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดที่สุดและกำจัดความเบลอที่ไม่พึงประสงค์ออกไป
9. ใช้กฎสามส่วนเพื่อสร้างรูปถ่ายที่สวยงาม
ความคมชัดและการได้รับแสงอย่างพอดีถือเป็นเรื่องที่สำคัญในการถ่ายภาพ แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามนั่นก็คือการจัดวางองค์ประกอบซึ่งถ้าคุณทำได้ดีนั้นจะทำให้รูปถ่ายของคุณดูโดดเด่นกว่าปกติอย่างแน่นอน
การจัดวางองค์ประกอบที่ดีนั้นหมายถึงการวางสิ่งสำคัญต่างๆในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง main subject ของคุณ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้กฎสามส่วน ซึ่งระบุไว้ว่าคุณควรวางสิ่งที่สำคัญที่สุดไว้นอกจุดศูนย์กลางของกรอบการถ่ายภาพ
นี่จะทำให้การจัดวางองค์ประกอบนั้นดูเป็นธรรมชาติและมีสมดุลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอะไรที่น่าสนใจและดีต่อสายตาคนดูมากขึ้น
โชคดีที่กล้องบนไอโฟนนั้นมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้คุณจัดวางองค์ประกอบโดยใช้กฎสามส่วน ซึ่งเราเรียกมันว่า camera grid
การเปิดการใช้งาน gridline นั้นทำได้โดย ไปที่ setting บนหน้าจอ home screen และเลื่อนลงมาเพื่อไปที่ camera และดูว่าไอคอน grid ถูกเปิดการใช้งาน (สีเขียวปรากฏ) อยู่หรือไม่
จากนั้นเมื่อคุณเปิดการใช้งานกล้อง คุณจะเห็นเส้นตรงทั้งหมด 4 เส้น โดยมี 2 เส้นในแนวตั้งและ 2 เส้นในแนวนอน ซึ่งคุณสามารถใช้เส้นเหล่านี้เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น ในบริเวณที่เส้น 2 แนวนั้นตัดกัน
ถ้าคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ ให้คุณวางขอบฟ้าไว้บนเส้นแนวนอนด้านบนหรือด้านล่างแทนที่จะวางไว้ในใจกลางของภาพ และตัว gridline หรือเส้นแบ่งนี่เองจะช่วยบอกคุณได้ว่าคุณจัดวางขอบฟ้าไว้อย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง
Camera grid ของไอโฟนช่วยให้คุณจัดวางองค์ประกอบเพื่อให้ได้รูปถ่ายอันน่าตื่นตาตื่นใจโดยใช้กฎสามส่วน ดังนั้นอย่าลืมเปิดการใช้งาน gridline ก่อนการถ่ายภาพเพื่อจัดวางสิ่งสำคัญต่างๆได้อย่างลงตัวที่สุด
แต่อย่าลืมว่ากฎมีไว้เพื่อการฝ่าฝืน ดังนั้นถ้าคุณฝึกฝนทักษะการใช้กฎสามส่วนจนชำนาญแล้ว ลองแหกกฎดู เพราะบางทีการจัดวาง subject ที่ใจกลางของกรอบการถ่ายภาพอาจเป็นอะไรที่น่าประทับใจก็ได้ หรือถ้าฉากนั้นมีความสมมาตร คุณก็อาจใช้การจัดวางองค์ประกอบสำคัญที่ตรงกลางเพื่อสร้างสมมาตรที่มีสมดุลอย่างลงตัว
10. ใช้ leading lines หรือเส้นนำ เพื่อภาพถ่ายที่ดูมีพลังและความลึกอันน่าเหลือเชื่อ
ในบางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าภาพที่คุณถ่ายนั้นดูเรียบๆและไม่มีชีวิตชีวาเลย สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้ leading lines หรือเส้นนำ
Leading lines คือเส้นที่นำจากพื้นหน้าไปยังพื้นหลังของฉาก ซึ่งอาจจะเป็น ทางเดิน ถนน แม่น้ำทางรถไฟ หรือ รั้ว ผนัง สะพาน ต้นไม้ที่เรียงกันเป็นแนวยาว หรือ รอยเท้าบนหิมะ กระแสน้ำริมชายหาด ก็ได้เช่นกัน
ในความเป็นจริงแล้วคุณสามารถใช้อะไรเป็นเส้นนำก็ได้ ตราบใดที่มันสามารถดึงความสนใจจากคนดูไปที่ภาพได้
เพื่อให้มั่นใจว่าเส้นนำที่คุณใช้นั้นสร้างความรู้สึกเชิงลึกให้กับรูป ให้คุณตั้งกรอบการถ่ายภาพในลักษณะที่ให้เส้นนั้นมีจุดเริ่มต้นจากพื้นหน้าก่อน และเส้นนั้นควรนำไปยังระยะทางที่ไกลออกไป หรือ ไปสู่ main subject ของคุณ
นี่เป็นเทคนิคการจัดวางองค์ประกอบที่เรียบง่ายแต่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างในการถ่ายภาพด้วยมือถือได้อย่างมาก ดังนั้นทุกครั้งที่คุณออกไปถ่ายรูป ให้มองหา leading lines และใช้มันเพื่อสร้างความลึกที่ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวาให้กับรูปถ่ายของคุณ
11. ทดลองกับมุมมองที่แตกต่างออกไปเพื่อภาพถ่ายที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
คนส่วนมากมักจะถ่ายภาพด้วยระดับความสูงประมาณหน้าอกขณะที่ยืนอยู่ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคุณจะได้รูปที่น่าสนใจกว่ามากถ้าคุณถ่ายจากมุมมองที่ต่างกันออกไป
ดังนั้นให้คุณมองหามุมมองทางเลือกอื่นๆเมื่อคุณต้องการถ่ายรูปสวยๆซักใบ เช่น การถ่ายภาพจากมุมที่อยู่ต่ำ ซึ่งทำได้โดยการหมอบ คุกเข่า หรือ นอนราบไปบนพื้นเพื่อจับภาพจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน
การถ่ายภาพจากมุมมองที่อยู่ต่ำนั้นทำให้ subject ที่อยู่บนพื้นหน้านั้นดูใหญ่ขึ้น ซึ่งคุณสามารถทดลองได้โดยการถ่ายขึ้นไปที่ตึกสูงๆ เพดานห้องที่สวยงาม หรือ ท้องฟ้าที่เห็นต้นไม้
รายล้อมอยู่ด้านบน
ในทางกลับกันคุณอาจถ่ายลงมาจากที่สูงเพื่อเก็บรายละเอียดของ subject ที่อยู่ด้านล่าง หรือ ขยับไปใกล้ๆ subject เพื่ิอจับรายละเอียดเล็กๆด้านในได้มากขึ้น
อีกเทคนิคหนึ่งที่เราอยากแนะนำคือ ให้คุณถ่ายผ่านกรอบ ซึ่งอาจจะเป็น ทางลอดซุ้ม ทางประตู หรือ หน้าต่าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับพื้นหน้าต่อคนดู และนำสายตาจากกรอบไปสู่พื้นหลังของภาพ
ถ้าหากคุณต้องการให้ภาพถ่ายที่ได้นั้นดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไปอีก ให้คุณลองถ่ายรูปผ่านวัตถุที่เป็นกึ่งโปร่งใสดู เช่น แก้วที่ถูกแช่จนเย็นจัดหรือหน้าต่างที่เต็มไปด้วยหยดน้ำ
นี่เป็นไอเดียที่ดีในการสร้างภาพถ่ายแบบ abstract ดังนั้นให้คุณจำไว้ว่าอย่าถ่ายรูปในรูปแบบเดิมๆ แต่ให้หาไอเดียใหม่ๆในการถ่ายภาพด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม และนี่จะสร้างประสบการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างและน่าตื่นตาตื่นใจไปจากเดิมแน่นอน
12. ทำให้การจัดองค์ประกอบดูเป็นเรื่องที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ
โดยส่วนใหญ่แล้วรูปถ่ายที่ดีที่สุดคือรูปที่ถ่ายด้วยวิธีหรือกระบวนการที่เรียบง่ายที่สุด นั่นเพราะว่าการใส่อะไรเข้าไปในฉากที่เยอะเกินจะเป็นการสร้างความสับสนและคนดูจะไม่รู้ว่าควรจะมุ่งความสนใจไปที่ไหนในรูป ดังนั้นทุกครั้งที่คุณจัดองค์ประกอบภาพ ให้คำนึงถึงความเรียบง่ายเป็นสำคัญ
แล้วเราจะสร้างการจัดองค์ประกอบที่เรียบง่ายได้อย่างไร ประการแรกก็คือ ให้คุณพยายามมี subject เดียวในรูป เพราะการถ่ายภาพที่มีหลาย subject นั้นจะทำให้รูปที่ถ่ายออกมาดูน่าสับสน
ประการที่สองคือ ให้ดูว่าพื้นหลังนั้นดูไม่ยุ่งเหยิงหรือดูจะเป็นการรบกวนสมดุลของภาพมากเกินไป ซึ่งคุณอาจลองเปลี่ยนมุมในการถ่ายภาพเพื่อกำจัดสิ่งที่อาจมาดึงความสนใจในฉากการถ่ายภาพของคุณ โดยคุณอาจจะลองก้าวไปด้านซ้าย/ขวา ทีละน้อย หรือทำตัวให้อยู่ต่ำลงเพื่อให้ท้องฟ้าเข้ามามีพื้นที่ในฉากของคุณมากขึ้น หรือว่า ลองขยับเข้าไปใกล้ subject เพื่อให้เฉพาะ subject นั้นอยู่ในกรอบการถ่ายภาพและกำจัดพื้นหลังที่ไม่พึงประสงค์ออกไป
สุดท้ายก็คือให้คุณพยายามให้มีพื้นที่ว่างเปล่าในรูปมากขึ้น โดยในศาสตร์การถ่ายภาพเราเรียกพื้นที่ว่างเปล่านี้ว่า negative space ซึ่งจะเป็นตัวที่ช่วยดึงดูดความสนใจต่อ subject ให้กับรูปของคุณ ดังนั้น อย่าลืมทำให้การจัดวางองค์ประกอบนั้นเรียบง่ายเข้าไว้ เพราะความเรียบง่ายมักจะเป็นอะไรที่ทำให้เกิดความน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคนดูได้ดีทีเดียว