- Home >
- เทคนิคพื้นฐาน >
- 9 เทคนิคเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มถ่ายภาพ
9 เทคนิคเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มถ่ายภาพ
ศาสตร์แห่งการถ่ายภาพนั้นเกิดจากการรวมสิ่งสำคัญ 3 อย่าง นั่นก็คือ กล้อง แสงและการจัดวางองค์ประกอบ โดยบทความนี้เขียนเพื่อผู้อ่านที่ต้องการเข้าใจหลักการเบื้องต้นที่สำคัญในการถ่ายภาพและการรวมเอา 3 สิ่งที่สำคัญที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้นเอาไว้ด้วยกัน
เราไปดูทริคและเทคนิคที่มีประโยชน์ในการถ่ายภาพกันดีกว่าครับ
ข้อที่ 1
การจัดวางองค์ประกอบ
นี่เป็นส่วนสำคัญของการถ่ายภาพที่คุณสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องใช้กล้องเลย แต่ว่าเกือบทุกคนบนโลกนี้สามารถเข้าถึงกล้องได้ผ่านทางสมาร์ทโฟนของเรา จึงนับเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะเริ่มต้นจากจุดนี้เลย การจัดวางที่ถูกต้องคือการที่เรามั่นใจว่า subject หรือเป้าหมายที่เป็นจุดสนใจและส่วนประกอบอื่นๆ ถูกจัดในทางที่จะทำให้ผู้ที่มาดูนั้นเข้าใจในรูปภาพได้อย่างเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในทางทฤษฎีมีหลายกฎที่เกี่ยวกับการจัดวางที่คุณต้องเรียนรู้ แน่นอนว่าศิลปะกับกฎระเบียบนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งไกลตัวกัน แต่ว่าคุณจำเป็นต้องเรียนรู้มันเพื่อรู้ว่าคุณจะหาทางแหกกฎนั้นได้อย่างไร
ข้อที่ 2
กฎสามส่วน (Rule of thirds)
ฟังดูเรียบง่ายเหมือนชื่อไหม คุณแบ่งรูปถ่ายของคุณเป็นสามส่วนทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
โดยจุดที่เส้นตัดกันคือจัดที่น่าสนใจ ถ้าคุณถ่ายรูปภาพที่เป็นภาพของคน คุณก็ให้ดวงตาของคนๆนั้นอยู่ในบนจุดที่เส้นตัดกันซึ่งควรจะเป็นแนวข้างบนของกรอบ ถ้าคุณถ่ายรูปทิวทัศน์ที่เป็นภูมิประเทศคุณก็สามารถแบ่งแยกส่วนที่เป็นโลกกับท้องฟ้าด้วยเส้นเหล่านี้ และ วางจุดสนใจที่เป็นเป้าหมาย (เช่นพระอาทิตย์ยามพลบค่ำ) ไว้ในจุดที่เส้นตัดกัน นอกจากนี้คุณยังสามารถให้สมาร์ทโฟนของคุณโชว์ grid หรือแผ่นรูปตระแกรงมาปิดทับเพื่อทำให้กระบวนการนั้นง่ายดายขึ้น ซึ่งคุณสามารถเปิดการใช้งานได้บน DSLRs หรือ ระบบ Mirrorless (ไร้กระจก)
ข้อที่ 3
หาสมมาตรในการจัดวาง
ถ้าคุณรู้สึกว่ากฎสามส่วนในหัวข้อที่ 2 นั่น ไม่ตอบโจทย์การถ่ายภาพของคุณในการจัดวางองค์ประกอบแบบใดแบบหนึ่ง คุณอาจลองจัดให้มันอยู่ในรูปแบบที่สมมาตรไปเลย อย่างไรก็ตามการจัดเรียงในรูปแบบสมมาตรอาจดูไม่เรียบง่ายอย่างที่คิด ในประการแรกคุณต้องวางเป้าหมายที่ต้องการโฟกัสไว้ตรงกลาง และให้แสงสว่างนำทางตาของคุณไปยังศูนย์กลางและทุกๆเส้นในรูปต้องตรงและมีสมมาตรต่อกัน ซึ่งแน่นอนว่ามันต้องใช้ทั้งความใส่ใจในรายละเอียดและความเคยชินกับการทำให้ทุกสิ่งดูตรงและขนานต่อกันในกรอบการถ่ายรูปของคุณ โดยคุณอาจใช้กฎสามส่วนนั้นเป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดภาพอย่างเหมาะสมและมีสมดุลต่อกันและกัน ดังนั้นเทคนิคสองอย่างนี้จึงเป็นอะไรที่ช่วยส่งเสริมกันและกันได้ดีทีเดียว
ข้อที่ 4
เส้นนำหรือ Guiding/Leading Lines
กฎนี้สามารถใช้ร่วมกับกฎสามส่วนในข้อที่ 2 หรือ กฎแห่งสมมาตรในข้อที่ 3 ได้ โดยเป้าหมายก็คือให้เส้นเหล่านี้ (ไม่ว่าจริงหรือเลียนแบบด้วยแสงและทริคต่างๆ) นำสายตาเราไปยังจุดที่สนใจในรูป ซึ่งเราสามารถทำเทคนิคนี้ไปใช้ได้ทั้งการถ่ายภาพทิวทัศน์และภาพคน (เพื่อเลือกความแตกต่างที่น่าสนใจซัก 2 จุดในรูป) อย่างไรก็ตาม ในรูปภาพคนนั้นควรจะเป็นอะไรที่บางๆอยู่เบื้องหลัง ส่วนในภาพภูมิประเทศก็อาจทำให้มันดูเด่นชัดเพื่อแบ่งแยกพื้นที่ได้ชัดเจน คุณอาจจะแหกกฎนี้ก็ได้แต่ก็อาจต้องระวังสักนิด เส้นนำนั้นควรเป็นแค่แนวทางในการจัดวาง ไม่ใช่การดึงความสนใจออกไปจากจุดที่เราต้องการโฟกัส
ข้อที่ 5
เลือกที่จะโฟกัส (selective focus)
นี่ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้องถ่ายรูปที่คุณใช้ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยากในการทำด้วยสมาร์ทโฟน คุณอาจลองโดยการซูมเข้าไปใกล้มากขึ้นสำหรับวัตถุขนาดเล็ก (macro shot) ในทางกลับกันมันจะเป็นเรื่องง่ายดายถ้าคุณใช้ DSLR โดย selective focus นั้นจะไปสร้างภาพเบลอในส่วนหน้าและพื้นหลังของรูป เพื่อหันเหความสนใจของคนดูไปที่จุดโฟกัส สำหรับส่วนประกอบอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในจุดโฟกัสควรจะเป็นอะไรที่เข้ามาแต่งเติมเพิ่มสีสันและความประทับใจไม่ใช่เข้ามารบกวนหรือเบี่ยงเบนความสนใจ ซึ่งถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นคุณอาจลองพิจารณาการจัดวางจุดโฟกัสของคุณใหม่ดู
ข้อที่ 6
แสงของคุณ
แสงนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการถ่ายภาพ เพราะการถ่ายภาพนั้นก็คือการใช้แสงเพื่อจับภาพดังนั้นถ้าไม่มีแสงเราก็ถ่ายรูปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คุณภาพและตำแหน่งของแสงก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน เป้าหมายของการใช้แสงก็คือการเพิ่มความลึกให้กับรูป ทำให้มันดูน่ารื่นรมย์ต่อสายตาและดึงเอาส่วนที่คุณต้องการโฟกัสให้โดดเด่นออกมา
ข้อที่ 7
มุมหรือองศาในการถ่าย
ส่วนมากเวลาคุณถ่ายรูปภาพคน คุณมักจะให้แสงนั้นทำมุมและไม่อยากให้แสงนั้นมีทิศทางจากบนลงล่างแบบตรงๆ นั่นเป็นสาเหตุที่นักถ่ายภาพส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการถ่ายรูปภาพคนในเวลาเที่ยงวันเพราะดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะและเงาที่ปรากฏนั้นก็ดูไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่ เช่นเดียวกันกับในการถ่ายภาพทิวทัศน์ เงาที่เข้มและทึบทำให้รูปนั้นขาดความลึกและทำให้ดูไม่เรียบร้อยและสมประกอบเท่าไหร่นัก
โดยการติดตั้งแสงเพื่อถ่ายรูปภาพคนที่ง่ายที่สุดคือการใช้แสงแบบ Rembrandt ซึ่งใช้เพียง 1 แหล่งของแสงสว่างเท่านั้น จึงไม่ต้องใช้การลดระดับความแรงของแสงลง และสามารถทำได้ง่ายมาก ทำให้เกิดผลที่น่าประทับใจด้วย
ข้อที่ 8
การกระจัดกระจายของแสง
แสงทำให้เกิดเงาและทำให้เรารู้สึกถึงความลึก อย่างไรก็ตามบนภาพที่เป็น 2 มิติ (เมื่ิอเทียบกับสายตาเราที่เป็น 3 มิติ) คุณต้องมีทริคบางอย่างในการสร้างความลึกของภาพ แสงที่จ้าและแรงมักจะกระตุ้นให้รูป 2 มิติ ดูเหมือนภาพวาดมากกว่าภาพถ่าย เพราะแสงที่จ้าและแรงทำให้เงาขาดการเปลี่ยนโทนและดูเหมือนอะไรที่ออกมาจากหนังสือการ์ตูน ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่หรอกนะ เพียงแต่ว่าแสงที่นิ่มนวลจะสามารถสร้างความลึกและทำให้รูปภาพนั้นดูเป็นธรรมชาติและสบายตามากขึ้น
ข้อที่ 9
อุณหภูมิของสี
คุณอาจเห็นและรู้สึกได้ว่าแสงแต่ละแหล่งนั้นไม่ได้ถูกสร้างให้เหมือนหรือมีความเท่าเทียมกัน แสงที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งที่ต่างกันจึงมีอุณหภูมิที่ต่างกันตามสีที่เปล่งออกมา และถ้าคุณไม่ใช้ White Balance หรือระบบสมดุลแสงสีขาวที่เหมาะสม ก็อาจทำให้แสงของภาพเกิดความผิดเพี้ยนไปจากที่พึงประสงค์
บทสรุป
ไม่ว่ากล้องของคุณจะเป็นรุ่นไหน หลักการเบื้องต้นของการถ่ายภาพก็ยังคงใช้ได้เสมอ และไม่ต้องกังวลหากคุณไม่มีกล้องระบบ DSLR หรือ กล้องแบบ mirrorless ที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ แต่ก็อย่ามั่นใจมากเกินไปว่าสมาร์ทโฟนนั้นดีเลิศเลอเหมือน DSLR ในการถ่ายภาพนั้นคุณภาพนั้นคือทุกสิ่งทุกอย่าง และ คุณเพิ่มคุณภาพของรูปถ่ายโดยการปรับปรุงในทุกแง่มุมของรูป จากแสงและการจัดวาง ไปจนถึงความคมชัดและช่วงการรับแสงที่กว้างขึ้น และเชื่อหรือไม่ว่า ถ้าคุณได้เริ่มต้นเข้ามาสู่โลกแห่งการถ่ายภาพ คุณจะรักมัน และ สมาร์ทโฟนของคุณก็จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ผู้ถ่ายภาพอันน่าประทับใจให้คุณ
Credit: https://www.lightstalking.com/basic-photography-tips-for-beginners